วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

ความเป็นมาและความหมายของสัททาวิเสส

ความเป็นมาและความหมายของสัททาวิเสส
คำว่า สัททาวิเสส ปรากฏใช้เป็นครั้งแรกในสมัยรัชการที่ ๑ พบหลักฐานการใช้คำนี้ในจดหมายเหตุพงศาวดารเรื่องการสังคายนาพระไตรปิฏก เมื่อพุทธศักราช ๒๓๓๑ ณ วัดพระศรีสรรเพชญ์ (ปัจจุบันคือวัดมหาธาตุยุวราชรังสกฤษฏิ์) การทำสังคายนาในครั้งนั้นได้แบ่งออกเป็น ๔ กอง คือ
๑. กองพระวินัย
๒. กองพระสูตร
๓. กองพระปรมัตถ์ หรือพระอภิธรรม
๔. กองพระสัททาวิเสส
คำว่า “สัททาวิเสส” มิได้อธิบายไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน กล่าวตามรูปศัพท์แล้วจัดเป็นศัพท์สมาสมาจากคำสองคำ คือ สัททา กับ วิเสส  คำว่า สัททา มาจากรูปศัพท์ในภาษาบาลีว่า  สทฺท ซึ่งมักแปลว่า  “เสียง”
หรือ “ศัพท์” แต่ในที่แปลว่า “ไวยากรณ์” ดังคำว่า สทฺทานุสาสน (คัมภีร์อธิบายไวยากรณ์) สทฺทสตฺถ (คัมภีร์ไวยากรณ์)  สทฺทวิทู (ผู้รู้ไวยากรณ์) สทฺทนีติ (ระแบบแห่งไวยากรณ์) แม้ในภาษาสันสกฤตก็ปรากฏรูปคำที่คล้ายคลึงกันว่า ศพฺท ในคำว่า ศพฺทานุศาสนา (คัมภีร์อธิบายวายกรณ์) , ศพฺทศาสฺตฺร (คัมภีร์ไวยากรณ์) โดยเหตุที่ภาษาไทยมีลักษณะสำคัญประการหนึ่งคือ ไม่ออกเสียงหนักในพยางค์สุดท้าย เมื่อนำคำบาลีมาใช้ เช่น วีถิ กวิ อคฺคิ  มุนิ จึงได้แผลงรูปและออกเสียงยาวเป็น วิถี กวี อัคคี และมุนี เป็นต้น ดังนั้น คำบาลีว่า สทฺท จึงมีรูปเป็น สัททา ส่วนคำว่าวิเสส ยังคงรูปเดิมเช่นในภาษาบาลี (แปลว่า วิเศส) ดังนั้น คำว่า สัททาวิเสส จืงแปลว่า “ไวยากรณ์พิเศษ” คือไวยากรณ์ที่เป็นอุปการะสำคัญในการศึกษาค้นคว้าพระไครปิฎก

สัททาวิเสสและกลุ่มคัมภีร์อื่นเพื่อการศึกษบาลีในพระไตรปิฎก
สัททาวิเสส คือ กลุ่มคัมภีร์ไวยกรณ์บาลีที่ว่าด้วยหลักภาษาในพระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์พื้นฐาน แห่งความเข้าใจในภาษาบาลีตลอดจนการเรียนรู้และวินิจฉัยข้ออรรถข้อธรรมในพระ ไตรปิฎก ปัจจุบันในหอสมุดแห่งชาติมีบัญชีรายชื่อกลุ่มคัมภีร์สัททาวิเสส ๑๕๓ คัมภีร์ซึ่งรวมทั้งคัมภีร์ภาษาบาลีและสันสกฤตที่แต่งในลังกา พม่าและไทย สำหรับในประเทศพม่ามีรายชื่อคัมภีร์สัททาวิเสสแต่งขึ้นเฉพาะในพม่าเป็นภาษา บาลีอย่างเดียวจำนวน ๑๓๔ คัมภีร์
ความจริงชื่อว่าสัททาวิเสสกมายความถึงกลุ่มคัมภีร์ไวยากรณ์เป็นหลักแต่ยังมี คัมภีร์อื่นที่ว่าด้วยหลักภาษาซึ่งไม่จำกัดไวยากรณ์ เมื่อกลุ่มคัมภีร์ทั้งหมดที่เป็นอุปการะในการศึกษาพระไตรปิฎก อาจแบ่งได้เป็น ๔ ประการ คือ
๑.กลุ่มคัมภีร์ไวยากรณ์หรือสัททาเสส คือ คัมภีร์แสดงหลักภาษา เช่น กัจจายนไวยากรณ์ โมคคัลลานไวยากรณ์ สัททนีติปกรณ์ เป็นต้น
๒.กลุ่มคัมภีร์นิฆัณฑุ คือ คัมภีร์ประเภทพจนานุกรมศัพท์ เช่น คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา คัมภีร์เอกักขรโกศ เป็นต้น
๓.กลุ่มคัมภีร์ฉันทลักษณ์ คือ คัมภีร์ว่าด้วยระเบียบในการวางคำ ครุ ลหุ เป็นแบบต่าง ๆ เช่น คัมภีร์วุตโตทัย คัมภีรฉันโทมัญชรี เป็นต้น
๔.กลุ่มคัมภีร์เกฏภะ คือ คัมภีร์ว่าด้วยการตกแต่งเสียงและความหมายให้ภาษามีความไพเราะ เช่น คัมภีร์สุโพธาลังการ เป็นต้น

กลุ่มคัมภีร์สัททาวิเสส
เนื่องจากหลักภาษาเป็นสิ่งสำคัญที่ควรเรียนรู้ก่อนคัมภีร์อื่นทั้งหมด คัมภีร์สัททาวิเสสจึงเป็นตำราพื้นฐานของการศึกษาภาษาบาลี เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถเข้าใจหลักภาษาได้ถูกต้อง คัมภีร์สัททาวิเสสซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง มีประวัติโดยสังเขปดังนี้
คัมภีร์สัททาวิเสสที่ละเอียดบริบูรณ์ซึ่งแต่งโดยบุรพาจารย์ในกาลก่อนมีองค์ ประกอบสำคัญ ๓ เรื่อง ได้แก่ สูตร คือ กฎหรือข้อบังคับให้ปฎิบัติตาม วุตติ คือ คำอธิบาย และ อทาหรณ์ คือ ตัวอย่างคัมภีร์ดังกล่าวที่แต่งมาแต่โบราณกาลได้สาบสูญไปแล้วมีหลายคัมภีร เช่น นิรุติปิฎกของพระมหากัจจายนะผู้เป็นมหาสาวก, จูพนิรุตติของพระยมก, โพธิสัตตไวยากรณ์ (ไวยากรณ์ของพระโพธิสัตว์) ซึ่งมีสูตรแรกว่านรวรวจโนปการานิจตฺตาลีสกฺขรานิ (อักษรที่เกื้อกูลแก่พระดำรัสของพระชินเจ้ามี ๔๐ ตัว) และสัพพคุณากรไวยากรณ์ (ไวยากรณ์ของพระสัพพคุณากร)ซึ่งมีสูตรแรกว่า สิทฺธกมาทาทโย วณฺณกฺขรา ติตาลีส (เสียง อ เป็นเสียงแรก ๔๓ เสียงชื่อว่า อักษร ตามลำดับแห่งความปรากฏ)คัมภีร์เหล่านี้มีอ้างไว้ในสัททนีติปกรณ์ ซึ่งประพันธ์โดยพระอัคควงศ์ พระเถระชาวพม่าในสมัยพุกามราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ และพบในคัมภีร์พุทธิปปสาทนีซึ่งเป็นฏีกาของคัมภีร์ปทสาธนะที่ประพันธ์โดยพระ ราหุละพระเถระชาวสิงหลในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๐ คัมภีร์ไวยากรณ์ ดังกล่าวสาบสูญไปตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะมีไวยากรณ์ฉบับอื่นที่ละเอียด บริบูรณ์กว่าจึงไม่นิยมใช้ศึกษา ต่อมาจึงสาบสูญไปตามกาลเวลา
อนึ่ง คัมภีร์สัททาวิเสสที่แต่งไว้ดีเพียบพร้อมด้วย สูตร วุตติ และอุทาหรณ์ เป็นเอกเทศปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน มีหลายคัมภีร์ จำแนกได้เป็น ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มกัจจายนไวยากรณ์ กลุ่มโมคคัลลานไวยากรณ์ และสัททนีติปกรณ์
ก.กลุ่มกัจจายนไวยากรณ์
คัมภีร์สัททาวิเสสฉบับเก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีสืบทอดมาถึงปัจจุบัน คือ กัจจายนไวยากรณ์ โดยมีทัศนะเรื่องผู้แต่งคัมภีร์นี้ต่างกันเป็น ๓ ทัศนะคือ
ทัศนะที่ ๑ เห็นว่า พระมหากัจจายนะในสมัยพุทธกาลเป็นผู้รจนา
ทัศนะที่ ๒ เห็นว่า พระมหากัจจายนะได้รจนาสูตรไว้แล้วต่อมาบุคคลอื่นได้รจนาวุตติและอุทาหรณ์ เพื่ออธิบายคัมภีร์ให้ชัดเจนขึ้น
ทัศนะที่ ๓ เห็นว่า พระกัจจายนะในสมัยหลังพุทธกาลแต่งขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าสกมันธาตุในราว พุทธศตวรรษที่ ๖ หรือในระหว่างที่ราชวงศ์ของกษัตริย์พระองค์นั้นเรืองอำนาจตั้งแต่พุทธศตวรรษ ที่ ๖ เป็นต้นไปจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๙ บางมติกล่าวว่าแต่งในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕- ๑๖

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น